พิมเสน (Borneol Camphor) สมุนไพรเครื่องยาแผนโบราณ

พิมเสน Borneol Camphor สมุนไพรสกัดน้ำมันหอมระเหยแพทชูลี่ น้ำมันพิมเสน

ยาสมุนไพร ตำรับยาไทยใช้พมเสนเข้าเครื่องยาไทยแผนโบราณหลายตำรับ

พิมเสน (Borneol Camphor) สมุนไพร ตำรับยาไทยใช้พมเสนเข้าเครื่องยาไทยแผนโบราณหลายตำรับ พิมเสน เป็นการสกัดจากพืชสมุนไพร ตามตำรายาแผนโบราณ พิมเสน เป็นธาตุวัตถุไม่ใข่พืชวัตถุ แพทย์แผนโบราณใช้พิมเสนเป็นยา ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ กระตุ้นสมอง กระตุ้นระบบทางเดินหายใจ น้ำมันหอมระเหยพิมเสน (Patchouli Essential Oil) มีสรรพคุณทางกลิ่นบำบัด (Aromatherapy) มีประโยชน์ต่ออาการต่างๆ เช่น บรรเทาหวัด ปวดหัว และปวดท้อง บรรเทาอาการซึมเศร้า ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและช่วยบรรเทาความเครียดหรือความวิตกกังวล

สมุนไพรและเครื่องเทศ

พิมเสน เป็นพืชสมุนไพร มีการนำพิมเสน เป็นยาสมุนไพรใช้เข้าเครื่องยา และนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหอมกันอย่างกว้างขวาง โดยนำมาบรรจุและผลิตในรูปแบบต่างๆให้ดูสวยงามเช่น ยาหม่องสมุนไพร, พิมเสนน้ำสมุนไพร, เกล็ดพิมเสนผสมเครื่องหอมใช้ดับกลิ่น และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความหอมสดชื่นอื่นๆ อีกมากมาย

ปัจจุบันนี้มีการทำพิมเสนน้ำสมุนไพร บรรจุใส่ขวดลูกกลิ้ง (Roll on) เล็กๆ ขนาด 5 – 10 ml. โดยมีส่วนประกอบอื่น ตามสูตรของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ทาและสูดดมบรรเทาอาการแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย มีส่วนผสม เมนทอล การบูร น้ำมันระกำ น้ำมันเปปเปอร์มินท์ (Peppermint Essential Oil) หรือน้ำหอมแต่งกลิ่น ใช้เป็นของที่ระลึก ของชำร่วยงานเทศกาลต่างๆ ซึ่งมีขายทั่วๆไป

พิมเสน คืออะไร

พิมเสน (Borneol Camphor หรือ Camphor) คือพืชสมุนไพร พิมเสน เป็นชื่อของพืชหรือต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่เป็นพืชสมุนไพร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pogostemon calslin Benth. จัดอยู่ในวงศ์ Labiatae สมุนไพรพิมเสน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พิมเสนเกล็ด (ไทย) พิมเสนมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ภิมเสน ภีมเสน พิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมแสนปิงเพี่ยน เหมยเพี่ยน (จีนกลาง) เป็นต้น มีชื่อสามัญว่า “Borneo Camphor” แขกอินเดียในบอมเบย์เรียก “Bhimseni” หรือ “Boras” ชาวฮินดูเรียก “Bhimsaini-kapur” หรือ “Barus kapur”

พิมเสน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ เรียกว่า พิมเสนแท้ หรือพิมเสนธรรมชาติ ชื่อสามัญ Borneol camphor และ พิมเสนสังเคราะห์ หรือพิมเสนเทียม หรือพิมเสนเกล็ด ชื่อสามัญ Borneolum Syntheticum(Borneol) ซึ่งพิมเสนจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆแบนๆ มีสีขาวขุ่น (หากเป็นพิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปแผ่นหกเหลี่ยม) มีเนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีขี้เถ้า ละลายได้ยากในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำละลายชนิดขั้วต่ำ พิมเสนมีกลิ่นหอมเย็น ฉุน รสหอม เย็นปากเย็นคอ สมัยก่อนคนไทยนิยมใช้ใส่ในหมากพลูเคี้ยว

ลักษณะของพิมเสน

พิมเสน เป็นสมุนไพร พิมเสนมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาว สกัดได้จากต้นไม้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ผักชีช้าง ทางภาคใต้เรียกกันว่า ใบหลม ใบอีหรม เป็นพืชที่มีลำต้นขนาดเล็ก ลำต้นค่อนข้างตรง มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปไข่ ขอบใบเป็นจักหรือเป็นซี่ ผิวของใบมีขนเส้นเล็กๆ หนาแน่น ดอกของต้นพิมเสนมีลักษณะเป็นช่อ เจริญออกมาจากซอกใบ และตามส่วนยอด ผล มีลักษณะรีมีขนาดเล็ก ค่อนข้างแข็ง

ยังมีพิมเสนในธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง ที่พบแทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นพิมเสนเป็นต้นสูง มีกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตามซอกใบ ผลเป็นผลแห้ง มีปีก มีเมล็ด 1 เมล็ด จะพบพิมเสนมีลักษณะเป็น เกล็ดสีขาวๆ ขาวขุ่น มีกลิ่นฉุน พิมเสนที่บริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปหกเหลี่ยม เกล็ดพิมเสนเหล่านี้ ทำละลายในน้ำได้ยาก ทำละลายได้ดีในน้ำมันต่างๆ จึงนิยมใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลาย สามารถละลายได้ ในน้ำมันปิโตรเลียม เบนซิน และ อีเธอร์

พิมพ์เสนที่ได้จากพืชหรือจากธรรมชาติ มีกลิ่นหอม แพทย์แผนโบราณใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ นอกจากนี้ยังใช้ผสมอยู่ในยาหม่อง น้ำอบไทย ในยาหอมที่บดเป็นผงจะมีใบพิมพ์เสนและพิมพ์เสนผสมอยู่ด้วย พิมเสนจากธรรมชาติไม่กัดลิ้น และเย็นชุ่มคอ

พิมเสน มีกี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?

พิมเสน แทบจะเรียกได้ว่า ต้นพิมเสนทั้งต้น ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น ราก มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ทั่วทุกๆส่วน เมื่อนำส่วนต่างๆเหล่านี้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปกลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยออกมา เรียกว่า น้ำมันพิมเสน (Patchouli) มีการใช้น้ำมันหอมระเหยพิมเสน (Patchouli Essential Oil) ปรุงเป็นน้ำหอม ใช้แต่งกลิ่นของสบู่ ครีมอาบน้ำ ในสมัยโบราณใช้ผสมขึ้ผึ้งทาปาก ใช้เป็นยาทาแก้ปวด ทำเป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม และเข้าเครื่องยาแผนโบราณอื่นๆ อีกมากมายหลายตำรับ นอกจากสรรพคุณทางยาที่ใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และต้านอการอักเสบแล้ว ยังใช้น้ำมันหอมระเหยพิมเสนผสมกับน้ำมันหอมระเหยอื่นๆ เพื่อใช้กลิ่นบำบัด (Aromatherapy) อาการได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำใบแห้ง กิ่งแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ใส่ในตู้เสื้อผ้าใช้กลิ่นช่วยกำจัดแมลงและให้ความหอมกับเสื้อผ้าได้พิมเสน พิมเสนแบ่งได้ 2 ชนิดคือ พิมเสนแท้หรือพิมเสนธรรมชาติ และพิมเสนสังเคราะห์ หรือพิมเสนเทียม

พิมเสนแท้ หรือพิมเสนธรรมชาติ

พิมเสนธรรมชาติ หรือ พิมเสนแท้ คือ พิมเสนที่ได้มาจากการระเหิดของยางจากต้นไม้ชนิดหนึ่งตามภาพด้านล่าง (ได้จากการกลั่นเนื้อไม้) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dryobalanops aromatica Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)

ลักษณะของพิมเสนแท้

พิมเสนแท้ ได้จากต้นพิมเสน เป็นพืชสมุนไพร มีลักษณะของต้นพิมเสนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 70 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยว ใบจะอยู่ที่ตอนบนของต้น ส่วนใบที่อยู่ตอนล่างจะออกตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนเป็นสีแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ส่วนผลเป็นผลแห้งมีปีก ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด โดยยางที่ได้จากการระเหิดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดใสขนาดเล็กรูปหกเหลี่ยม มีความเปราะแตกง่าย พิมเสนจะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมากแต่ไม่มีขี้เถ้า

พิมเสนสังเคราะห์ หรือ พิมเสนเทียม

พิมเสนสังเคราะห์ หรือ พิมเสนเทียม คือ พิมเสนที่ได้จากสารสกัดจากต้นการบูร (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE), ต้นหนาด (หนาดหลวง หนาดใหญ่ หรือพิมเสนหนาด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blumea balsamifera (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) หรือน้ำมันสนโดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา

ลักษณะของพิมเสนสังเคราะห์

พิมเสนสังเคราะห์ ได้จากสารสกัดจากต้นการบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาว ทำละลายในน้ำได้ยาก ทำละลายได้ดีในน้ำมันต่างๆ จึงนิยมใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลาย

ประโยชน์และสรรพคุณพิมเสน

พิมเสน เป็นการสกัดจากพืชสมุนไพรแต่ ตามตำรายาแผนโบราณ พิมเสน เป็นประเภทธาตุวัตถุ ไม่ใข่พืชวัตถุ แพทย์แผนโบราณใช้พิมเสนเป็นยา พิมเสนมีสรรพคุณและประโยชน์ ดังนี้

  • ยาแผนโบราณ แพทย์แผนโบราณใช้พิมเสนเป็นยาสมุนไพร สรรพคุณยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมองบำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม
  • อบสมุนไพรแก้อาการ การอบสมุนไพรที่มีพิมเสนเป็นส่วนประกอบในตัวยาแก้เคล็ดขัดยอกคลายเส้น พิมเสนจะระเหิดเมื่อถูกความร้อน มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง
  • ลูกประคบ พิมเสนใช้ผสมในลูกประคบ เพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์แก้พุพอง แก้หวัด
  • ตำรับยาหม่อง พิมเสนใช้ผสมในยาหม่องลหายๆ สูตร ใช้ทาบริเวณลำคอและจมูกจะช่วยบรรเทาอาการไอ และหลอดลมอักเสบ โดยใช้พิมเสน 2 กรัม และขี้ผึ้ง 3 กรัม นำมาทำเป็นยาหม่อง
  • ตำรับน้ำอบไทย น้ำอบไทยใช้พิมเสนผสมเล็กน้อยเพื่อความเย็นสดชื่นและแต่งกลิ่น
  • ตำรับยาทรงนัตถุ์ ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุว่า “ตำรับยาทรงนัตถุ์” เข้าเครื่องยา 17 สิ่ง ใช้ปริมาณเท่าๆกัน รวมพิมเสนผสมด้วย บดเป็นผงละเอียด ใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย ตลอดจนโรคที่เกิดในศีรษะ ตา และจมูก
  • ตำรับยาหอม พมเสนเป็นส่วนผสมตำรับยาที่มีสรรพคุณโดยรวมคือแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย เช่น ตำรับยาหอมนวโกฐ ตำรับยาหอมเทพจิตร
  • ตำรับยาดม แก้ปวดหัว วิงเวียน อีกขนานหนึ่งเข้าเครื่องยา 15 สิ่ง รวมทั้งพิมเสนด้วย บดเป็นผงละเอียด ห่อผ้าบาง ทำเป็นยาดม แก้ปวดหัว วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา
  • ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น พิมเสนใช้เป็นส่วนผสม “ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น” ใช้ถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อนได้
  • ตำรับ “สีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น”
  • ตำรับยาดม ทำเป็นยาดม หรือเป็นส่วนผสมยาดม แก้อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ แก้สลบ ริดสีดวงจมูก คอ และตา

สรรพคุณอื่นๆ ของ พิมเสน

พิมเสนมีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม เป็นยาเย็น พิมเสนมีสรรพคุณทางยา การรักษา และการบำบัดอื่นๆ

  • พิมเสนเป็นสมุนไพร ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ
  • พิมเสนช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย ทะลวงทวารทั้งเจ็ด
  • พิมเสนช่วยกระตุ้นสมอง กระตุ้นการหายใจ
  • พิมเสนแก้ลมวิงเวียนหน้ามืด หัวใจอ่อน ทำให้ชุ่มชื่น
  • พิมเสนใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ผ่อนคลาย ง่วงซึม
  • พิมเสนช่วยแก้ปากเปื่อย ปากเป็นแผล เหงือกบวม หูคออักเสบ
  • พิมเสนใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
  • พิมเสนช่วยขับลมทำให้เรอ ช่วยขับผายลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง
  • พิมเสนช่วยรักษาแผลกามโรค
  • พิมเสนใช้รักษาบาดแผลสด แผลเนื้อร้าย
  • พิมเสนใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคผิวหนังต่าง ๆ
  • การกลั่นใบและยอดอ่อนของหนาดด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำพิมเสนกลั่นมาทำเป็นยากินแก้อาการท้องร่วง ปวดท้อง ใช้ขับลม หรือใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ ฟกช้ำ และกลากเกลื้อน
  • ใช้แก้ผดผื่นคัน ให้ใช้พิมเสนและเมนทอล อย่างละ 3 กรัม ผงลื่นอีก 30 กรัม นำมารวมกันบดเป็นผงใช้ทาแก้ผดผื่นคัน
  • พิมเสนใช้เป็นยาแก้ปวดบวม แก้อักเสบ

หมายเหตุ : วิธีใช้พิมเสน ให้ใช้ครั้งละ 0.15-0.3 กรัม นำมาบดเป็นผงเข้ากับตำรายาอื่น หรือใช้ทำเป็นยาเม็ด และไม่ควรปรุงยาด้วยวิธีการต้ม หากใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผงใช้โรยแผลตามที่ต้องการ

ข้อมูลทางการบำบำัดรักษาของพิมเสน

การศึกษาพิมเสนทางเภสัชวิทยา

พิมเสน คนไทยเราจะรู้จักกันมานาน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับพิมเสนยังไม่มีให้ค้นคว้ามากนัก เพราะต้นไม้ที่ให้พิมเสนนี้ เป็นพืชที่มีเฉพาะถิ่นที่ขึ้นอยู่เฉพาะในเขตป่าของ เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และคาบสมุทรมลายู จึงทำให้การศึกษาวิจัยในต้นไม้ชนิดนี้เป็นการศึกษาแบบจำกัดไม่กว้างขวาง แต่ก็ยังมีตัวอย่างข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสนบางฉบับที่มีการเผยแพร่กัน เช่น

  • สารที่พบในพิมเสนแท้ ได้แก่ d-Borneol, Humulene, Caryophyllene, Asiatic acid, Dryobalanon Erythrodiol, Dipterocarpol
  • พิมเสนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ จากการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาฉบับหนึ่งระบุว่า พิมเสนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่น เชื้อในลำไส้ใหญ่, เชื้อราบนผิวหนัง, Staphelo coccus, Steptro coccus และยังใช้ในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทหรืออาการอักเสบได้เป็นอย่างดี
  • พิมเสน มีกลไกในการออกฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ คือ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณใต้ผิวหนังบริเวณที่ทา ยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบจากกลไกของร่างกาย เช่น prostaglandin E2,interleukin เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดนี้ จะช่วยให้ลดอาการปวดได้เร็วขึ้น

การศึกษาพิมเสนทางพิษวิทยา

ข้อมูลความรู้เรื่องพิมเสน ทางพิษวิทยามีเช่นเดียวกับการศึกษาทางเภสัชวิทยา คือ การศึกษาในวงจำกัดไม่แพร่หลาย เนื่องมาจากการที่ต้นไม้ที่ให้พิมเสนนี้เป็นต้นไม้เฉพาะถิ่น แต่ก็มีการระบุข้อจำกัดในการใช้พิมเสนไว้ว่า หากสูดดมติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายจากการใช้เกิดขนาดด้วยได้ เนื่องจากสารนี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ นอกจากนี้สารนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นและสงบระบบประสาทส่วนกลาง

วิธีใช้พิมเสน ขนาดและปริมาณการใช้

  • พิมเสนใช้ทาน ตำรายาไทยแผนโบราณ ระบุไว้ว่า วิธีใช้พิมเสนสำหรับรับประทาน ให้ใช้ครั้งละ 0.15-0.3 กรัมนำมาบดเป็นผงเข้ากับตำรายาอื่น หรือใช้ทำเป็นยาเม็ด และไม่ควรปรุงยาด้วยวิธีการต้ม
  • พิมเสนใช้ภายนอก ให้นำมาบดเป็นผงใช้โรยแผลตามที่ต้องการ ส่วนขนาด/ปริมาณของพิมเสนที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยอนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบกับตัวยาอื่นๆนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขจะระบุให้ใช้เป็นตำรับๆไป
  • สำหรับประชาชนทั่วไป ไม่แนะนำให้หรือทดลองปรุงตำรับยาที่มีพิมเสนเป็นส่วนผสม เพราะอาจเป็นโทษมากกว่าประโยชน์

ข้อแนะนำและข้อควรระวังการใช้พิมเสน

  • ห้ามสูดดมพิมเสนติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ
  • พิมเสนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางจึงไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนด
  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานพิมเสน และควรใช้ด้วยความระมัดระวังหรือตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • การเก็บรักษาพิมเสนต้องเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดอย่างมิดชิด ควรเก็บไว้ในที่แห้งและมีอุณหภูมิต่ำ

ปัจจุบันพิมเสนแท้ หาได้ค่อนข้างยากหรือแทบไม่มีแล้ว เพราะขั้นตอนในการเกิดพิมเสนธรรมชาติเป็นไปได้ยากและมีราคาแพง ส่วนใหญ่จึงใช้พิมเสนสังเคราะห์ ซึ่งได้มาจากปฏิกิริยารีดักชันของการบูร (dl-camphor) ได้เป็น (dl-borneol) ก็คือ พิมเสนเกล็ดขาวๆ ที่เห็นกันโดยทั่วไป จึงเรียก พิมเสนเทียมนี้ ว่า “พิมเสนเกล็ด” Borneolum Syntheticum (Borneol) ซึ่งพิมเสนสังเคราะห์ (หรือพิมเสนเทียม) หรือพิมเสนเกล็ดนี้มักจะมีรสเผ็ดกัดลิ้น ถ้าเป็นพิมเสนแท้จากธรรมชาติ จะไม่กัดลิ้น แต่จะทำให้เย็นปากเย็นคอ จึงควรต้องระมัดระวังในการใช้พิมเสนสังเคราะห์นี้ด้วย

พิมเสนน้ำ

ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยพิมเสน (Patchouli Essential Oil)

ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยพิมเสนผสม (PatchouliEssential Oil Blend)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Comment

Open Sidebar
Shop
Search
Account
0 Wishlist
0 Cart
Shopping Cart

Your cart is empty

You may check out all the available products and buy some in the shop

Return to shop