น้ำมันหอมระเหย Essential Oil สรรพคุณบำบัดอาการ

น้ำมันหอมระเหย- ยาดมอโรม่า น้ำมันหอมระเหยพรีเมี่ยม

อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) แพทย์ทางเลือกใช้กลิ่นบำบัดอาการของโรคด้วยน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหย สกัดจากธรรมชาติถูกใช้บำบัดอาการต่างๆ จากการแพทย์ทางเลือกตามคุณสมบัติของพืชนั้นๆ โดยบำบัดร่วมกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัุจจุบัน น้ำมันหอมระเหยเกรด Pure Essential Oils ใช้บำบัดด้วยการสูดดม เรียกว่า อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) หรือ สุคนธบำบัด หรือกลิ่นบำบัด การสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยช่วยบำบัดอาการ อารมณ์ แก้อาการปวด ต้านการอักเสบ

น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil)

น้ำมันหอมระเหย ถูกนำมาใช้ด้วยการนำกลิ่นหอมมาใช้สูดดมร่วมกับการนวดตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่รู้จักนำเครื่องหอมมาใช้ประโยชน์ โดยการนำยางไม้มาเผาใช้ในพิธีบูชาเทพเจ้า และยังพบว่าในการทำมัมมี่ เพื่อเก็บรักษาพระศพฟาโรห์ มีการนำพืชสมุนไพรหอมชนิดต่างๆ ทำเป็นน้ำมันใช้ร่วกับเกลือ เช่น อบเชย (cinnamon) โหระพา(sweet basil) เมล็ดผักชี (coriander seed ) เป็นต้น เนื่องจากพืชสมุนไพรหอมเหล่านี้มีน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี

กรีก ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการเหล่านี้ต่อจากชาวอียิปต์ที่ถูกชาวกรีกเข้ายึดครอง โดยได้นำน้ำมันจากพืชสมุนไพรหอมเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในทางการรักษาและใช้ในการทำเครื่องสำอางและถูกถ่ายทอดไปสู่ชาวโรมันในเวลาต่อมา

ในการแพทย์สาขาอายุรเวทการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย การนำกลิ่นหอมมาผสมกับน้ำมันหรือครีม-ไขมันสัตว์ต่างๆ เป็นที่รู้จักและใช้กันมานาน แต่การใช้อโรม่า หรือ Aroma (กลิ่นหอม) ในสมัยโบราณยังไม่มีการค้นคว้าอย่างจริงจังถึงคุณสมบัติ และสรรพคุณเฉพาะตัวของสารหอมแต่ละชนิดในทางการบำบัดรักษา

ศาสตร์การบำบัดโบราณ ด้วยกลิ่นบำบัดจากน้ำมันหอมระเหย (Aromatherapy)

จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 ที่ได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า AROMATHERAPY (สุคนธบำบัด) โดย RENE MAURICE GATTEFOSSE นักเคมีชาวฝรั่งเศส และหลังจากนั้นไม่นานชาวฝรั่งเศส ชื่อ ALBERT COUVERUR ได้จัดพิมพ์ตำราเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยขึ้นจากแนวศึกษาของ GATEFOSSE นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ JEAN VALNET ได้ศึกษาค้นคว้าทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหย และนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ MARGARET MAURY ได้พัฒนาการใช้น้ำหอมระเหยกับการนวด และจากค้นคว้าของทั้ง 2 คนนี้ ทำให้ MICHELINE ARCIER เชื่อถือวิธีการของ MAURY และ VELNET จนทำให้อโรมาเธอราพี (AROMATHERARY) เป็นที่นิยมไปทั่วโลก

น้ำมันหอมระเหย คืออะไร ?

น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากพืช สมุนไพร และเครื่องเทศ ที่เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสมุนไพรผลิตขึ้นตามธรรมชาติและเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ เช่น กลีบดอก ผิวของผล เกสร ราก เปลือกของลำต้น หรือยางที่ออกมาจากเปลือก มีองค์ประกอบทางเคมีที่สลับซับซ้อน และแตกต่างกันออกไป น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้ มีลักษณะเป็นของเหลวไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนน้ำมันพืช มีกลิ่นหอมระเหยง่าย เมื่อน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความร้อน อนุภาคเล็ก ๆ ของน้ำมันหอมระเหยจะระเหยเป็นไอ ทำให้เราได้กลิ่นหอม และใช้การสูดกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัด เรียกว่า สุคนธบำบัด หรือ อโรมาเธอราพี (Aromatherapy)

กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูดแมลงมาผสมเกสร ปกป้องการรุกรานจากศัตรู และรักษาความชุ่มชื้นให้กับพืช สำหรับประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยต่อมนุษย์มีมากมายตามคุณสมบัติเฉพาะตัวของพืชแต่ละชนิด เช่น น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการอักเสบ หรือลดบวม คลายเครียด ผ่อนคลายหรือกระตุ้นความรู้สึก คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด

ประเภทน้ำมันหอมระเหย แบ่งตามระดับกลิ่น Notes

ระดับกลิ่น Notes ในน้ำมันหอมระเหย คืออะไร ?

ระดับกลิ่น Notes ของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil Notes) คือ ระดับกลิ่น ที่น้ำมันหอมระเหยทำปฏิกิริยากับอากาศแล้วระเหยกลายเป็นกลิ่น ซึ่งในการระเหยของกลุ่มน้ำมันหอมระเหยจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

  1. กลิ่น Top Notes (ท็อปโน๊ต)
  2. กลิ่น Middle Notes (มิดเดิลโน๊ต)
  3. กลิ่น Base Notes (เบสโน๊ต)

การแบ่งระดับกลิ่น Notes จะแบ่งตามคุณสมบัติและระยะเวลาในการระเหยของน้ำมันหอมระเหยนั้นๆ ซึ่งกลิ่น Top Notes จะระเหยได้เร็วที่สุด เราจะได้กลิ่น Top Notes เป็นกลิ่นแรก จะใช้เวลาระเหยประมาณ 10 – 20 นาทีแรก แล้วจะเผยกลิ่น Middle Notes เป็นกลิ่นที่สองตามมา ใช้เวลาระเหย 20 – 60 นาที จากนั้นกลิ่นหอมสุดท้ายของน้ำมันหอมระเหยจะออกมาหลังจากกลิ่นก่อนหน้าแห้งระเหยไปแล้ว กลิ่น Base Notes จะเป็นกลิ่นสุดท้ายที่มีโมเลกุลใหญ่กว่าทำให้ติดทนนานที่สุด ใช้เวลาระเหยประมาณ 6 ชั่วโมง

คุณสมบัติน้ำมันหอมระเหยทางการบำบัด

คุณสมบัติน้ำมันหอมระเหยทางการบำบัด คืออะไร ?

การบำบัดที่ใช้น้ำมันหอมระเหยทางการบำบัด เรียกว่า อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) หรือสุคนธบำบัด คือ ศาสตร์และศิลปะแห่งการใช้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจากพืชธรรมชาติในการช่วยบำบัดรักษาโรคทางร่างกายและจิตใจ มีผลต่อระบบประสาท บรรเทาความเครียดและอาการวิตกกังวล ทำให้ผ่อนคลายหรือกระตุ้นให้ร่างกายและปรับภาวะจิตใจเกิดความสมดุลและทำให้รู้สึกดีขึ้น รวมถึงการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และการบรรเทาอาการของโรคที่ไม่ร้ายแรงได้อีกด้วย ปัจจุบัน อโรมาเธอราพี หรือสุคนธบำบัด จำเป็นต้องใช้น้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด (Pure Essential Oils) เพื่อผลทางการบำบัดรักษา จึงทำให้อโรมาเธอราพีกลายเป็นการบำบัดทางการแพทย์ทางเลือกแบบหนึ่ง 

สรรพคุณการบำบัดของน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยที่มีสรรพคุณการบำบัดอาการ มีมากมายหลายชนิด ซึ่งน้ำมันหอมระเหยบำบัดอาการแตกต่างกันตามคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ร่างกายสามารถขจัดของเสียในระบบเลือด
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยเสริมภูมิต้านทานร่างกายและชะลอความเหี่ยวย่นของผิว
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยต้านการอักเสบ รักษาแผลอักเสบ มีผลต่อระบบการทำงานของน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว กำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นวดบรรเทาอาการปวดเมื่อย และกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม มีผลต่อระบบย่อยอาหาร กล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหาร
  • น้ำมันหอมระเหยน้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลายหรือกระตุ้นความรู้สึก มีผลต่อระบบประสาท กระตุ้นความจำ อารมณ์
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยกระตุ้นฮอร์โมน ความรู้สึกทางเพศ มีผลต่อระบบสืบพันธ์ ฮอร์โมนเพศ เช่น ปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิง บรรเทาไมเกรน เช่น น้ำมันหอมระเหยมาจอร์รัม สวีท, น้ำมันหอมระเหยวนิลา
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยรักษาแผล สร้างเซลล์ใหม่ มีผลต่อโครงสร้างร่างกาย
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยรักษาผิว ลดเลือนรอยแผลเป็นหรือใช้สมานแผลเพื่อป้องกันรอยแผลเป็น
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยบำรุงผิวพรรณ ผลัดเซลผิวใหม่ ผิวขาวกระจ่างใส เช่น น้ำมันหอมระเหยกวาวเครือ
  • น้ำมันหอมระเหยช่วยถอนพิษ จากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น น้ำมันหอมระเหยสะเลดพังพอน
  • น้ำมันหอมระเหยบำบัดอาการภูมิแพ้ ช่วยระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวก โล่งจมูก เช่น น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส, น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มิ้นท์ หรือ น้ำมันสะระแหน่

วิธีใช้น้ำมันหอมระเหยบำบัดอาการ

การเลือกวิธีใช้นำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดอาการควรเลือกชนิกของน้ำมันหอมระเหยให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย หากยังมีข้อสงสัยเรื่องวิธีใช้น้ำมันหอมระเหยบำบัดอาการ แนะนำศึกษา วิธีใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด

  • ใช้น้ำมันหอมระเหยบำบัดโดยการสูดดม จากการสูดดมทำได้ง่ายที่สุด ก่อนการสูดดมจะต้องเจือจางน้ำ้มันหอมระเหยก่อนเพื่อความปลอดภัย เพราะน้ำมันหหอมระเหยบางชนิดเข้มข้นมาก วิธีใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดด้วยการสูดดม สามารถทำได้หลายวิธีในการใช้งาน เช่น การสูดดมโดยตรงจากน้ำมันหอมระเหยที่เจือจางเพื่อการสูดดม, การกระจายน้ำมันหอมระเหยในอากาศด้วยเครื่องพ่นไอน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils Diffuser), การกระจายน้ำมันหอมระเหยในอากาศด้วยการฉีดพ่นด้วยสเปรย์
  • ใช้น้ำมันหอมระเหยทาหรือนวดบนผิวหนัง เพื่อการบำบัด ส่วนใหญ่เป็นวิธีการบำบัดในสปาโดยทั่วไป น้ำมันหอมระเหยที่ใช้นวดจะมีการเจือจางด้วยการผสมเบสน้ำมันที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อผิวหนัง และน้ำมันหอมระเหยที่เลือกใช้ตามคุณสมบัติเฉพาะตัวต้องเลือกสรรอย่างเหมาะสมที่ไม่ส่งผลในทางลบและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อผิวหนัง
  • ใช้น้ำมันหอมระเหยผสมน้ำ การสูดดมจากการผสมน้ำสามารถทำได้โดยผสมน้ำมันหอมระเหยกับอุ่นแล้วใช้ผ้าคลุมเพื่อสูดไอน้ำมันหอมระเหย และอีกวิธีที่นิผมใช้กันคือ การหยดผสมน้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำ ซึ่งการบำบัดจะได้ทั้งสองทางคล้ายในสปา คือ ทางการสูดดม และ น้ำมันหอมระเหยที่บำบัดทางผิว

กลิ่นน้ำมันหอมระเหยยอดนิยม

กลิ่นน้ำมันหอมระเหยแนะนำ

  • น้ำมันหอมระเหยกลิ่นวนิลา

ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยยอดนิยม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Comment

ซู๊ด น้ำมันหอมระเหย Essential Oil ซู๊ด อโรม่า

โปรโมชั่น น้ำมันหอมระเหยเกรดบำบัด

โปรโมชั่น น้ำมันหอมระเหยเบลนด์ราคาพิเศษ

ไฮไลท์บทความสุขภาพกับน้ำมันหอมระเหย

Open Sidebar
Shop
Search
Account
0 Wishlist
0 Cart
Shopping Cart

Your cart is empty

You may check out all the available products and buy some in the shop

Return to shop