10 น้ำมันหอมระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุนัข หากเลีย ดม หรือสัมผัส
น้ำมันหอมระเหย สกัดจากธรรมชาติถูกใช้บำบัดอาการต่างๆ จากการแพทย์ทางเลือกตามคุณสมบัติของพืชนั้นๆ โดยบำบัดร่วมกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัุจจุบัน น้ำมันหอมระเหยที่ใช้บำบัดด้วยการสูดดม เรียกว่า อโรมาเธอราพี (Aroma Therapy) หรือ สุคนธบำบัด การสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยช่วยบำบัดอารมณ์ แก้อาการปวด ต้านการอักเสบ
อโรมาเธิราพี (Aromatherapy)
น้ำมันหอมระเหย ถูกนำมาใช้ด้วยการนำกลิ่นหอมมาใช้สูดดมร่วมกับการนวดตั้งแต่สมัยโบราณ ในการแพทย์สาขาอายุรเวทการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย การนำกลิ่นหอมมาผสมกับน้ำมันหรือครีม-ไขมันสัตว์ต่างๆ เป็นที่รู้จักและใช้กันมานาน แต่การใช้อโรม่า หรือ Aroma (กลิ่นหอม) ในสมัยโบราณยังไม่มีการค้นคว้าอย่างจริงจังถึงคุณสมบัติ และสรรพคุณเฉพาะตัวของสารหอมแต่ละชนิดในทางการบำบัดรักษา
จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 ที่ได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า AROMA THERAPY (สุคนธบำบัด) โดย RENE MAURICE GATTEFOSSE นักเคมีชาวฝรั่งเศส และหลังจากนั้นไม่นานชาวฝรั่งเศส ชื่อ ALBERT COUVERUR ได้จัดพิมพ์ตำราเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยขึ้นจากแนวศึกษาของ GATEFOSSE นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ JEAN VALNET ได้ศึกษาค้นคว้าทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอม ระเหย และนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ MARGARET MAURY ได้พัฒนาการใช้น้ำหอมระเหยกับการนวด และจากค้นคว้าของทั้ง 2 คนนี้ ทำให้ MICHELINE ARCIER เชื่อวิธีการของ MAURY และ VELNET เข้าด้วยกันจนทำให้ AROMA THERARY เป็นที่นิยมไปทั่วโลก
น้ำมันหอมระเหยคืออะไร
น้ำมันหอมระเหยเป็นน้ำมันที่สกัดได้จากพืช เป็นสารอินทรีย์ที่พืชผลิตขึ้นตามธรรมชาติและเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ เช่น กลีบดอก ผิวของผล เกสร ราก เปลือกของลำต้น หรือยางที่ออกมาจากเปลือก มีองค์ประกอบทางเคมีที่สลับซับซ้อน และแตกต่างกันออกไป น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้ มีลักษณะเป็นของเหลวไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนน้ำมันพืช มีกลิ่นหอมระเหยง่าย เมื่อน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความร้อน อนุภาคเล็ก ๆ ของน้ำมันหอมระเหยจะระเหยเป็นไอ ทำให้เราได้กลิ่นหอม
กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูดแมลงมาผสมเกสร ปกป้องการรุกรานจากศัตรู และรักษาความชุ่มชื้นให้กับพืช สำหรับประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยต่อมนุษย์มีมากมายตามคุณสมบัติเฉพาะตัวของพืชแต่ละชนิด เช่น น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการอักเสบ หรือลดบวม คลายเครียด ผ่อนคลายหรือกระตุ้นความรู้สึก คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด
คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหย
น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อร่างกายต่าง ๆ มากมาย แตกต่างกันตามแต่ละชนิด ดังนี้
- น้ำมันหอมระเหยช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ร่างกายสามารถขจัดของเสียในระบบเลือด
- น้ำมันหอมระเหยช่วยเสริมภูมิต้านทานร่างกายและชะลอความเหี่ยวย่นของผิว
- น้ำมันหอมระเหยช่วยต้านการอักเสบ รักษาแผลอักเสบ มีผลต่อระบบการทำงานของน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว กำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
- น้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นวดบรรเทาอาการปวดเมื่อย และกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ
- น้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม มีผลต่อระบบย่อยอาหาร กล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหาร
- น้ำมันหอมระเหยน้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลายหรือกระตุ้นความรู้สึก มีผลต่อระบบประสาท กระตุ้นความจำ อารมณ์
- น้ำมันหอมระเหยช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีผลต่อระบบสืบพันธ์ ฮอร์โมนเพศ เช่น ปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิง บรรเทาไมเกรน เช่น น้ำมันหอมระเหยมาจอร์รัม สวีท
- น้ำมันหอมระเหยช่วยรักษาแผล สร้างเซลล์ใหม่ มีผลต่อโครงสร้างร่างกาย
- น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อการรักษาผิว ลดเลือนรอยแผลเป็นหรือใช้สมานแผลเพื่อป้องกันรอยแผลเป็น
- น้ำมันหอมระเหยช่วยบำรุงผิวพรรณ ผลัดเซลผิวใหม่ ผิวขาวกระจ่างใส เช่นน้ำมันหอมระเหยกวาวเครือ
- น้ำมันหอมระเหยช่วยถอนพิษ จากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น น้ำมันหอมระเหยสะเลดพังพอน
คุณสมบัติน้ำมันหอมระเหยทางการบำบัด
การบำบัดที่ใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัด เรียกว่า Aromatherapy อโรมาเธอราพี หรือสุคนธบำบัด คือ ศาสตร์และศิลปะแห่งการใช้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจากพืชธรรมชาติในการช่วยบำบัดรักษาโรคทางร่างกายและจิตใจ มีผลต่อระบบประสาท บรรเทาความเครียดและอาการวิตกกังวล ทำให้ผ่อนคลายหรือกระตุ้นให้ร่างกายและปรับภาวะจิตใจเกิดความสมดุลและทำให้รู้สึกดีขึ้น รวมถึงการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และการบรรเทาอาการของโรคที่ไม่ร้ายแรงได้อีกด้วย ปัจจุบัน อโรมาเธอราพี หรือสุคนธบำบัด กลายเป็นการแพทย์ทางเลือกแบบหนึ่ง